วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อาชีพคนรับจ้างกำจัดหญ้าด้วยเครื่องพ่นยาในป่าอ้อย

อาชีพคนรับจ้างกำจัดหญ้าด้วยเครื่องพ่นยาในป่าอ้อย
กล้าลองกล้าลุยวันนี้ คุณต้นกล้า ชัยอนันต์ พาไปดู เบื้องหลังของอีกหนึ่งอาชีพ ทำงานทนแดด ทนร้อน พร้อมกับเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี อย่างยาฆ่าหญ้าในป่าอ้อย ทำไมพวกเค้ายังถึงต้องทำอาชีพนี้อยู่ ไปติดตามชมกัน อีกหนึ่งอาชีพ ที่กล้าลองกล้าลุย พามารู้จักวันนี้ ทำงานกันอยู่ในไร่หรือป่าอ้อย ที่บ้านนาไฮ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ทำกันมากว่า 20 ปีกับอาชีพ "คนรับจ้างกำจัดหญ้าในป่าอ้อย"

หน้าที่ในแต่ละวันของคนรับจ้างกำจัดหญ้าในป่าอ้อย จะตระเวนไปตามที่ต่างๆ ที่มีการว่าจ้าง ไม่เคยเกี่ยงว่าจะไกลแค่ไหน เพราะยึดหลัก งานคือเงิน และเงินคืองาน นำทีมโดย พี่อ่อง พี่หน่อง พี่ชอน พี่เทพ และพี่สี เราออกเริ่มงานกันตั้งแต่เช้าตรู่ แต่ถ้าวันไหนมีงานจ้างหลายงาน ก็จะออกมาเร็วกว่าเดิม

ช่วงนี้พี่อ่องบอกว่า งานจะชุกมาก มีมาให้ทำเกือบทุกวัน แทบจะไม่ได้หยุดพัก อุปกรณ์ที่ใช้มีไม่กี่อย่าง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ แบกไปยังจุดเริ่มต้นทำงาน เลือกที่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ๆ จะได้สะดวกมากขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะไปผจญในไร่อ้อย ทุกคนต้องป้องกันตัวเองทุกด้าน ให้สารเคมีสัมผัสกับตัวน้อยที่สุด ทั้งรองเท้าบูท ถุงพลาสติก นำมาดัดแปลงผูดมัดกับเอวหรือลำตัว สวมถุงมือยางและหมวกไอ้โม่ง ปิดคลุมใบหน้าให้มิดชิดที่สุด รวมทั้งมือใหม่อย่างผม ที่ขออาสาเข้าร่วมทีม ทำงานในครั้งนี้ พี่ๆ ทุกคนบอกว่า ก็ต้องป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด ประมาทไม่ได้ เมื่อเลือกชนิดยาที่เหมาะกับหญ้าที่จะฉีดพ่นวันนี้ได้แล้ว จะเริ่มทำการผสมกับน้ำเปล่าทันที ทุกขั้นตอนต่อจากนี้ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด น้ำยาที่เข้มข้นถึงแม้จะเจือจางลงไปในน้ำหลายสิบลิตรแล้วก็ตาม แต่ทุกหยดเต็มไปด้วยอันตรายที่ห้ามสัมผัสโดนเด็ดขาด

ตอนนี้กลิ่นของน้ำยาอบอวลไปทั่วบริเวณ เมื่อทุกอย่างพร้อม ถังน้ำยาจะไปอยู่บนหลังของทุกคนทันที เป็นการทำงานพร้อมเสียงเครื่องพ่นยาที่ดังกระหึ่มพร้อมกัน 6 เครื่อง

การเข้าไปฉีดพ่นยาจะต้องเว้นระยะห่างของแต่ละคนให้พอดี อย่าให้ละอองของน้ำยาปลิวมาโดนตัวของกันและกันเป็นอันขาด อาชีพนี้ใช่ว่าใครๆ ก็ทำได้ เพราะทุกขั้นตอนเสี่ยงไปด้วยอันตรายจากสารเคมีอย่างยาฆ่าหญ้า แค่โดนละอองหรือสัมผัสเข้าไปเพียงแค่นิดเดียว ก็ส่งผลต่อร่างกายได้ เจ้าของไร่อ้อยจึงไม่ค่อยจะทำเอง เพราะถ้าพลาดต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเดียวเท่านั้น

แดดที่ร้อนจัดบวกกับกลิ่นของยาฆ่าหญ้า ถ้าไม่ชินหรือไม่อดทนพออาจต้องขอยอมแพ้ ถึงแม้จะลำบาก แต่ทุกคนบอกว่านี่เป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับพวกเขา ค่าตอบแทนอาจจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ทั้งหมดก็ยึดหลักพอเพียง มีน้อยใช้น้อยและระมัดระวังตัวเองตลอดเวลา

หญ้าที่เราฉีดพ่นยาไปไม่กี่ชั่วโมงจะเริ่มเปลี่ยนสี และสุดท้ายก็จะตายในที่สุด

นี่เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สะท้อนให้เห็นในหลายแง่มุม ทั้งเรื่องของการใช้สารเคมีในบ้านเรา แต่สำหรับพวกเขาแล้ว นี่คืออาชีพที่จะเลือกทำต่อไปอีกนาน

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเลี้ยงกบ ตอนกบทาวน์เฮาส์ ต้นทุนต่ำ กำไรงาม

การเลี้ยงกบ มีทั้งการเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง แต่การเลี้ยงกบในกระชังมีข้อเสียอยู่ นั่นคือเราจะมองไม่เห็นตัวกบ แต่การเลี้ยงในบ่อดิน เราจะมองเห็นตัวกบ และสามารถคัดแยกเอากบป่วยออกไปเลี้ยงต่างหากได้ ทำให้สามารถควบคุมโรคได้นั่นเองครับ

คุณถาวร สรรสมบัติ เกษตรกรผู้เลี้ยงกบทาวน์เฮาส์ อดีตผู้ใหญ่บ้านคำปลาหลาย อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่นการเลี้ยงกบให้ผลตอบแทนที่ดีมาก ถ้าเลี้ยงดีๆจะสามารถมีรายได้มากกว่าเงินเดือนข้าราชการหลายเท่าเลยทีเดียวครับ

การเลี้ยงกบทาวน์เฮาส์

เป็นการใช้พื้นที่เลี้ยงกบอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยใช้ตาข่ายเขียวทำเป็นคอกๆ มีสแลนบังแดดเพื่อไม่ให้อากาศร้อนเกินไป มีบ่อปูด้วยพลาสติกเล็กๆให้กบได้ว่ายน้ำ นำเอากระเบื้องไปวางให้เป็นที่หลบซ่อน โดยรวมๆแล้วก็จะเป็นการสร้างบ่อเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติ แต่ลักษณะเป็นคอกๆนั้นมองดูคล้ายทาวเฮาส์นั่นเองครับ

คุณถาวร ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงกบไม่มาก เลี้ยงกบไว้บ่อละ 2,000 ตัว มีบ่อขนาด 2×2 เมตร จำนวน 16 บ่อ เท่ากับพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตร (16 ตารางวา) เท่านั้นเอง แต่รายได้ที่ได้ไม่ธรรมดาเลยละครับ

ในแต่ละเดือนจะมีลูกค้ามาซื้อถึงบ้าน เริ่มจากลูกอ๊อด คุณถาวร ขายกิโลกรัมละ 500 บาท ลูกกบเล็กขายตัวละ 1-2 บาท ลูกกบอายุ 1.5 เดือนขายกิโลกรัมละ 120 บาท พ่อแม่พันธุ์กบขายคู่ละ 300 บาท ในแต่ละเดือนจะมีรายได้รวมๆประมาณ 50,000 – 200,000 บาท โดยมีต้นทุนค่าอาหารแค่เดือนละ 5,000 บาทเท่านั้นเองครับ

ดูย้อนหลังเกษตรสร้างชาติ การเลี้ยงกบ ตอนกบทาวน์เฮาส์ ต้นทุนต่ำ กำไรงาม


ขอขอบคุณ ภาพและคลิปจาก Youtube โดย สํานักข่าวไทย TNAMCOT tnamcot.com

เกี่ยวกับฉันผู้สร้างบทความของบล็อค

สวัสดีฉันชื่อ aryasurenderverma เป็นเรียบเรียงบทความของบล็อค ขอบคุณที่ติดตามบทความ